Saturday, January 18, 2025

รายการตรวจ

     ทางห้องปฏิบัติการของเราสามารถตรวจวิเคราะห์โรคได้ดังนี้

  • ตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด เช่น โรคเบาหวาน
  • ตรวจดูไขมันในเลือด เช่น โรคไขมันสูง
  • ตรวจดูโรคไต
  • ตรวจดูโรคตับ
  • ตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจการตั้งครรภ์
  • ตรวจหาสารเสพติด
  • ตรวจสุขภาพประจำปี
  • ตรวจดูการทำงานของไต
  • ตรวจดูการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

 

     การตรวจเม็ดเลือดสมบูรณ์ ( Complete Blood Count )

         เป็นการตรวจเลือดเพื่อบ่งบอกว่าเรามีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดเท่าใด จำนวนเม็ดเลือดที่ตรวจพบ    

         จะบ่งบอกภาวะโรคได้อย่างหยาบๆ เช่น เม็ดเลือดแดงน้อย แสดงว่ามีภาวะเลือดจาง ส่วนรูปร่างของเม็ดเลือดแดง

         ก็สามารถอธิบายภาวะโรคได้เช่นกัน ได้แก่ เลือดจางจากขาดธาตุเหล็ก หรือ เกิดจากการเสียเลือดแบบเรื้อรัง

         โรคกระเพาะอักเสบ  โรคริดสีดวงทวาร  ประจำเดือนออกมากกว่าปกติ เป็นต้น   หรือโรคพันธุกรรมที่พบมากในคน

         ไทยคือโรคธัลลาซีเมีย เม็๋ดเลือดขาวมากอาจเกิดจากภาวะิติดเชื้อจากแบคทีเรีย

 

     การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ( Blood sugar ) 

          อวัยวะทุกส่วนของเราต้องการน้ำตาลในเลือดหรือ Glucose เป็นพลังงานน้ำตาลมาจากอาหาร ในรูปของข้าวหรือ

          แป้งทุกชนิด ซึ่งจะถูกย่อยสลายเป็น Glucose หรือ Surcose แล้วไปกระตุ้นฮอร์โมนอินซูลินให้หลั่งออกมาจากตับ

           อ่อน เพื่อเป็นตัวนำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ของอวัยวะ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดพลังงาน ทำให้ร่างกายมีชีวิตได้

          ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะหลั่งอินซูลินได้น้อย หรือไม่ได้เลยทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จึงต้องได้รับการดู

         แลจากแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำของพฤติกรรมการดำรงชีวิตอย่างถูกต้อง

 

     การตรวจระดับไขมันในเลือด ( Cholesterol, Triglyceride, LDL, HDL )

         โรคไขมันและหลอดเลือดอุดตันเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมาก สาเหตุสำคัญเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารไม่ถูกต้อง

          รวมทั้งวิถีชีวิตสังคมเมือง ทำให้ขาดการออกกำลังกาย อาหารที่บริโภคโดยเฉพาะแป้งและไขมัน เกิดการสะสม

          ของไขมันในเส้นเลือด ทำให้่หลอดเลือดอุดตันในที่ต่างๆ เช่น ที่หัวใจ สมอง เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

         หรือเนื้อสมองตาย ผู้ป่วยอาจตาย หรือเกิดอัมพาต อัมพฤกษ์ได้ การตรวจไขมันในเลือดจะประกอบด้วย Cholesterol

         Triglyceride, LDL ( Lower Density Lipoprotein ), HDL ( Higher Density Lipoprotein ), ไขมันที่เป็นต้นเหตุของ

          การอุดตันคือ LDL ที่เป็นไขมันไม่ดี โดยทั่วไปค่าที่ได้ไม่ควรเกิน 130 mg/dl

         ค่า Total Cholesterol ไม่ควรเกิน 200 mg/dl ค่า Triglyceride ไม่ควรเกิน 150 mg/dl ค่าไขมันดี ( HDL ) ไม่ควรต่ำกว่า 

         35 mg/dl  ระดับไขมันในเลือด ที่เหมาะสมดังค่าข้างต้น

 

    การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ( AST หรือ SGOT, ALT หรือ SGPT, Alkarine Phosphatase )

          ตับของคนเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่หลายอย่างของร่างกาย ถ้ามีการอักเสบหรือได้รับสารที่มีพิษต่อตับ ( บางทีเป็นยา

         ที่กินรักษาโรคบางชนิด ) ก็จะทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง ค่า AST/ALT จะสูงผิดปกติส่วน Alkaline Phophatase ถ้าสูง

         มากจะบ่งว่าน่าจะมีการอุดตันของท่อน้ำดีหรืออาจมีเนื้่องอก ถ้าตรวจพบว่าการทำงานของตับผิดปกติ ควรพบแพทย์

         เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติของการทำงานของตับ

 

    การตรวจไวรัสตับอักเสบชนิด บี และ เอ 

         โรคไวรัสตับอักเสบชนิด บี และ เอ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้ที่เป็นโรคชนิดเฉียบพลัน มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เบื่อ

          อาหาร น้ำหนักลดลง 5 ก.ก. ในเวลาประมาณ 1 เดือน บางรายจะรู้สึกมีไข้ต่ำๆ ส่วนมากจะหายขาดกว่า 90% การวินิจ

          ฉัยโรคจะต้องตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับและจำแนกชนิดของเชื้อไวรัส

    

     การตรวจ Uric Acid ในเลือด

          ผู้ป่วยที่ปวดไขข้อบางตำแหน่ง เช่นที่ข้อนิ้วหัวแม่เท้า มีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์ได้ ซึ่งเป็นโรคพันธุกรรมที่พบมากใน

           ผู้ชาย เกิดจากการที่กินอาหารโปรตีน ที่ร่างกายไม่สามารถสลายสารยูริคในร่างกายได้ก่อให้เกิดโรคปวดข้อ 

          ผู้ที่เป็นนิ่วในไต นิ่วที่ท่อไต ถ้าเราตรวจเลือดพบว่ามีระดับ Uric Acid ในเลือดสูง เราสามรถป้องกันการเกิดพยาธิ

          สภาพได้ โดยควบคุมอาหารเครื่องในสัตว์ รวมทั้งเลือดสัตว์และสัตว์ปีกทุกชนิด

 

     การตรวจสภาพการทำงานของไต ( BUN / Creatine ) 

         ไตมีหน้าที่ึควบคุมระดับปริมาณน้ำ เกลือแร่ ในร่างกาย และกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ผู้ที่มีการทำงานของไต

         ผิดปกติ จะทำให้ของเสียในร่างกายคั่งค้างการตรวจค่า BUN / Craatine จากเลือดเป็นวิธีที่สะดวก ง่ายดายที่สุด 

        เพียงแต่ว่าการทำงานของไตต้องสูญเสียเกิน 75% แล้ว เท่านั้นจึงจะพบค่า BUN / Creatine ที่ผิดปกติ คนที่มีิผิดปกติ

         ทางไต ไม่ควรกินอาหารรสเค็ม งดทานอาหารโปรตีนปริมาณมากที่เป็นเนื้อแดงๆ เนื่องจากสารที่อยู่ในเนื้อแดง

        ไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้หมด การคั่งของสายยูเรียไนโทรเจน จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ถ้าสารดังกล่าวสูง

         มากๆ จะทำให้่เกิดอาการทางสมอง และอาจตายได้่ ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตให้กินไข่ขาวแทน เนื่องจากไข่ขาวเป็นโปรทีน

        ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด ความผิดปกติของไต เกิดจากสาเหตุโดยตรงของไตเอง เช่น กรวยไตอักเสบเรื้อรัง 

         หรือเป็นผลทางอ้อมจากโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี  ความดันโลหิตสูง หรือกินอาหารที่มีสารปนเปื้อน

        เป็นพิษต่อไต หรือยาปฏิชีวนะบางชนิด

 

     การตรวจสารเคมีในเลือดหรือปัสสาวะหรือเส้นผมหรือเล็บ

         ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม มีโอกาสสัมผัสกับสารเคมีต่างๆ สารเคมีที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต มีมากมาย

        อาทิเช่น โลหะหนัก สารทำละลาย กรด ด่าง สารประกอบ ( มีธาตุมากกว่าหนึ่งอย่างแล้วเกิดเป็นสารใหม่ ) สารผสม

        ( มีธาตุมากกว่าหนึ่งอย่างแล้วแต่ไม่เกิดสารใหม่ ) สารเคมีจะเข้าสู่ร่างกายได้ตามคุณสมบัติของสารนั้นๆ เช่น เข้าสู่่

        ทางปาก ทางเดินหายใจ ผิวหนังโดยเฉพาะส่วนที่เป็นแผลนอกจากนี้ สารเคมีบางชนิดที่เป็นสารกัมมันตภาพรังสีชนิด

        แตกตัว อาจเข้าสู่ร่างกายได้โดยทะลุทะลวงผ่านผิวหนังแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการ

         เจริญเติบโต ( ต่อมไทรอยด์ ) หรือการสืบพันธุ์ การตรวจสารเคมีประจำปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการป้องกันโรค

        พิษจากสารเคมี ดังที่กล่าวแล้วในตอนแรก

  

  

  

นโยบาย Cookie

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ของเราทำงานได้อย่างเหมาะสม และเพื่อประสบการณ์อย่างเป็นส่วนตัวสำหรับผู้ใช้งาน หากท่านดำเนินการต่อโดยไม่เปลี่ยนแปลงการตั้งค่า เราจะถือว่าท่านยินยอมรับคุกกี้ทุกประเภทบนเว็บไซต์ของเรา อย่างไรก็ตามท่านสามารถเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าคุกกี้ได้ตลอดเวลา นโยบายคุกกี้